ว่าด้วยการส่งเสริมระเบียบวินัยนักเรียน พ.ศ. 2552
เพื่อให้การปกครองนักเรียนสามารถสร้างวินัย ส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมเกิดความเรียบร้อย จึงวางระเบียบไว้ต่อไปนี้
-
1. บททั่วไป
-
1.1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบโรงเรียนสาธิตบางนาว่าด้วยข้อบังคับและแนวทางปฏิบัติสำหรับนักเรียน พ.ศ. 2552
-
1.2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่นักเรียนโรงเรียนสาธิตบางนาทุกคน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นไป
-
2. การมาโรงเรียนของนักเรียน
-
2.1 นักเรียนต้องมาโรงเรียนก่อนเวลา 07.45 น. เพื่อทำกิจกรรมตอนเช้าบริเวณลานอเนกประสงค์ และเมื่อนักเรียนเข้ามาในโรงเรียนแล้วไม่ว่ากรณีใดจะออกจากโรงเรียนไม่ได้จนกว่าจะถึงเวลาเลิกเรียนหรือได้รับอนุญาตให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน
-
2.2 นักเรียนทุกคนต้องปฏิบัติกิจกรรมตอนเช้าดังนี้
-
1. เข้าแถวเคารพธงชาติที่ลานอเนกประสงค์ และบริเวณโดยรอบที่จัดไว้ให้ทุกคน
-
2. พบครูที่ปรึกษาเพื่อโฮมรูมในห้องเรียนหรือบริเวณที่โรงเรียนกำหนดหลังกิจกรรม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามตารางที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนคนใดไม่ให้ความร่วมมือถือว่ามีความผิด
-
3. นักเรียนต้องหยุดทำความเคารพครูที่ปฏิบัติเวรที่ประตูทางเข้า และนักเรียนต้องพกบัตรประจำตัวมาโรงเรียนทุกวัน การไม่มีบัตรประจำตัวนักเรียนเป็นความผิดหากจับได้ว่าไม่พกบัตรเกิน 3 ครั้ง ต้องเชิญผู้ปกครองพบ
-
4. นักเรียนที่มาถึงโรงเรียนหลังเวลา 07.45 น. ถือว่ามาสายไม่ทันเข้าแถวครูเวรประตู ดูแลนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตอนเช้าที่บริเวณประตูทางเข้า ให้ครูเวรดูแลการแต่งกาย และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับกับนักเรียนอย่างเข้มงวด และให้นักเรียนบันทึกข้อมูลการมาโรงเรียนที่เครื่องบันทึกที่อาคาร มาถึงโรงเรียนหลังเวลา 07.45 น. ถือว่ามาโรงเรียนสาย ถ้านักเรียนมีความผิดอื่นเพิ่มเติมให้ยึดบัตรนักเรียนไว้ และบันทึกความผิดในแบบบันทึกของกลุ่มกิจการนักเรียนและครูเวรนำบัตรพร้อมบันทึกของนักเรียนมารับบัตรในเวลา 15.00 น. ของวันที่ถูกครูยึดบัตรไว้ที่ห้องกิจการนักเรียน
-
5. การเข้าเรียนแต่ละคาบ นักเรียนต้องไปตามเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในตารางสอน ถ้านักเรียนเข้าห้องเรียนช้าหลังการสอนไปแล้ว 10 นาที ถือว่า “เข้าเรียนช้า” ถ้าไม่เข้าเรียนในคาบใดที่เปิดคาบเรียนให้ถือว่าหนีเรียน ทั้งสองกรณีถือว่านักเรียนมีความผิด
-
นักเรียนที่เป็นเวรประจำวันต้องดูแลความสะอาดห้องเรียนให้สะอาดตลอดเวลา โดยเฉพาะการ เปิด – ปิด ไฟฟ้าและพัดลม
-
ครูผู้สอนต้องรายงานนักเรียนที่เข้าเรียนช้า และหนีเรียนให้ครูที่ปรึกษาทราบด้วยการบันทึกหลังจากเลิกเรียนทุกวัน
-
6. นักเรียนต้องมีกระเป๋านักเรียนตามแบบที่โรงเรียนกำหนด เพื่อใส่หนังสือและอุปกรณ์การเรียน การไม่มีกระเป๋าถือว่ามีความผิด
-
3. การขาดเรียนและการลา
-
3.1 เมื่อนักเรียนไม่มาโรงเรียนโดยไม่แจ้งสาเหตุ ถือว่านักเรียนมีความผิดฐาน “หนีเรียน” และมีเจตนาปกปิดไม่ให้ผู้ปกครองหรือโรงเรียนทราบ
-
3.2 ทุกครั้งที่นักเรียนไม่มาโรงเรียนให้รีบแจ้งโรงเรียนทางโทรศัพท์หรือโทรสาร และต้องส่งใบลาทันทีที่มาโรงเรียนเพื่อป้องกันการ “ออกจากบ้าน” แต่ “ไม่ถึงโรงเรียน” แล้วกลับบ้าน “ตรงเวลา”
-
3.3 ใบลาเป็นแบบที่ถูกต้องตามหลักการเขียนจดหมาย และต้องลงนาม โดยบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่มามอบตัวนักเรียนเมื่อวันแรกเข้าเรียน ซึ่งมีลายเซ็นตัวอย่างไว้ที่โรงเรียนเท่านั้น และโรงเรียนถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ปกครองเมื่อนักเรียนไม่มาโรงเรียนหรือนักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียน
-
3.4 กรณีนักเรียนเข้ามาในบริเวณโรงเรียนแล้ว ต้องการออกไปนอกบริเวณโรงเรียนต้องปฏิบัติดังนี้
-
3.4.1 ต้องมาลงบันทึกขออนุญาตออกนอกสถานศึกษาโดยมีผู้ปกครองมารับที่ห้องธุรการ
-
3.4.2 ส่งแบบฟอร์มให้ครูที่ปรึกษา ลงชื่อรับทราบนำไปขออนุญาตฝ่ายกิจการนักเรียน รับใบอนุญาต แจ้งให้ยามหน้าประตูทราบ
-
3.4.3 โรงเรียนมอบหมายให้รองผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามอนุญาตในบัตรออกนอกบริเวณโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนนำบัตรนี้ไปแสดงต่อยามรักษาการณ์ก่อนออกจากโรงเรียนและนำติดตัวไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือสารวัตรนักเรียน เมื่อถูกขอตรวจขณะอยู่นอกโรงเรียน
-
3.4.4 ใบลาจะถูกเก็บไว้ในทะเบียนประวัตินักเรียนเพื่อตรวจสอบลายมือผู้ปกครอง และตรวจสอบกับแบบสำรวจประจำวัน
-
3.4.5 กรณีนักเรียนเจ็บป่วยระหว่างเรียนให้แจ้งครูประจำห้องพยาบาล ซึ่งเป็นผู้พิจารณาว่าควรให้นักเรียนลากลับบ้าน หรือถ้าเห็นสมควรครูประจำห้องพยาบาลจะบันทึกส่งกลุ่มบริหารงานบุคคลเพื่อทำบัตรอนุญาต ต่อไป
-
3.5 โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียนในกรณี ดังนี้
-
3.5.1 ผู้ปกครองขออนุญาตทางโทรศัพท์
-
3.5.2 ผู้ปกครองให้บุคคลอื่นมารับตัวนักเรียนโดยไม่มีใบลาที่ถูกต้อง
-
3.5.3 นักเรียนอ้างว่าผู้ปกครองไม่อยู่หรือไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้
-
3.6 กรณีที่นักเรียนขาดเรียนโดยไม่ทราบสาเหตุโรงเรียนจะดำเนินการดังนี้
-
3.6.1 มอบให้ครูที่ปรึกษาแจ้งผู้ปกครองตามความเหมาะสม เช่น โทรศัพท์ จดหมาย เมื่อนักเรียนขาดการติดต่อ 2 – 3 วัน และถือว่าเป็นการแจ้งครั้งที่ 1
-
3.6.2 มอบให้ครูที่ปรึกษาร่วมกับหัวหน้าระดับแจ้งผู้ปกครองในนามกิจการนักเรียน โดยทางจดหมายเมื่อนักเรียนขาดเรียนติดต่อกัน 5 วัน และถือว่าเป็นการแจ้งครั้งที่ 2
-
3.6.3 มอบให้ครูที่ปรึกษาร่วมกับหัวหน้าระดับและรองฝ่ายกิจการนักเรียน เชิญผู้ปกครองมาโรงเรียนเพื่อปรึกษาในนามกิจการนักเรียน โดยจัดทำหนังสือเชิญส่งไปทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เมื่อนักเรียนขาดติดต่อกันเกิน 7 วัน และถือเป็นการแจ้ง ครั้งที่ 3
-
3.6.4 กรณีที่นักเรียนขาดเรียนติดต่อกัน 15 วัน โดยผู้ปกครองไม่แจ้งสาเหตุเป็นลายลักษณ์อักษร และครูที่ปรึกษาได้ดำเนินตามข้อ 3.6.1 ถึง 3.6.3 แล้ว ครูที่ปรึกษาแจ้งต่อฝ่ายทะเบียนประกอบคำขอเสนอต่อรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล (เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดำเนินการติดตามต่อไป
-
4. การเรียนในคาบเรียน
-
4.1 ในระหว่างเวลาเรียนนักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากครูผู้สอน
-
4.2 ห้ามใช้โทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใดระหว่างเวลาเรียน
-
4.3 ห้ามนำวิชาอื่นมาทำโดยไม่ได้รับอนุญาต
-
4.4 ต้องตั้งใจเรียน ฟังคำสั่งและคำอธิบายของครู ด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่ลุกออกจากที่นั่งโดยไม่ได้รับอนุญาต
-
4.5 ในกรณีที่ครูไม่อยู่ในห้องเรียน ให้นักเรียนทุกคนอยู่ในห้องเรียนด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่กระทำการใด ๆ รบกวนห้องใกล้เคียงให้เป็นที่เดือนร้อน เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาทีแล้ว ครูยังไม่เข้าห้องให้หัวหน้าห้องไปแจ้งหัวหน้ากลุ่มสาระฯ วิชานั้น
-
4.6 เมื่อมีการเปลี่ยนที่เรียน ให้นักเรียนเก็บอุปกรณ์การเรียนของตนเข้ากระเป๋าและนำติดตัวไป เ ดินเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบด้วยความสงบ ไม่รบกวนห้องต่าง ๆ ที่เดินผ่าน
-
4.7 กรณีเปลี่ยนคาบเรียนหรือเปลี่ยนครูผู้สอนโดยไม่เปลี่ยนที่เรียน ในช่วงเวลานี้ห้ามนักเรียนออกนอกห้องเรียนให้รออยู่ในห้องเรียนด้วยความสงบเรียบร้อย เตรียมสมุดหนังสือหรืออุปกรณ์การเรียนให้พร้อมที่จะเรียนวิชาต่อไป
-
4.8 กรณีเรียนนอกห้องเรียนหรือสนาม หรือห้องประชุม หรือที่อื่นใด รวมทั้งการพบครูที่ปรึกษาในคาบโฮมรูมให้ปฏิบัติเสมือนกับอยู่ในห้องเรียน
-
5. การขออนุญาตออกนอกห้องเรียนหรือเข้าห้องเรียนในขณะเรียน
-
5.1 เมื่อมีธุระต้องออกนอกห้องเรียนให้นักเรียนขออนุญาตครูผู้สอนและก่อนเข้าห้องเรียนต้องขออนุญาตทุกครั้งเช่นกัน
-
5.2 การขออนุญาตเข้าห้องเรียนต้องขออนุญาตเข้าที่ประตูหน้าห้องเรียน ห้ามขออนุญาตหรือเข้าห้องเรียนทางประตูหลังห้องเรียน
-
5.3 เมื่อนักเรียนต้องการพบนักเรียนคนใด ในระหว่างที่ครูกำลังสอนต้องขออนุญาตครูผู้สอนก่อน
-
6. สิ่งของต้องห้ามมิให้นำมาโรงเรียน
-
6.1 ห้ามนักเรียนนำสิ่งของต่อไปนี้เข้ามาโรงเรียนโดยเด็ดขาด
-
6.1.1 บุหรี่ สุรา ของมึนเมาหรือยาเสพย์ติดทุกประเภท
-
6.1.2 อุปกรณ์การเล่นการพนันทุกประเภท
-
6.1.3 อาวุธ วัตถุระเบิด สิ่งของที่สามารถใช้เป็นอาวุธ ไม่ใช่อุปกรณ์การเรียนทุกประเภท
-
6.1.4 ของผิดกฎหมายทุกชนิด
-
6.2 ห้ามนักเรียนใช้หรือนำมาในโรงเรียนเพื่อใช้ในขณะแต่งเครื่องแบบนักเรียน
-
6.3 ห้ามนักเรียนนำสิ่งของต่อไปนี้เข้ามาในโรงเรียน เว้นแต่ได้รับอนุญาตล่วงหน้าแล้ว
-
6.3.1 รถยนต์ รถจักรยานยนต์
-
6.3.2 เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องมือสื่อสาร
-
6.3.3 ของเล่นทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่น เช่น ธนู ลูกดอก รองเท้าสเก็ต
-
6.3.4 สินค้าทุกประเภทที่นำมาเพื่อจำหน่ายในโรงเรียน
-
6.4 ห้ามนักเรียนใช้หรือนำทรัพย์สินมีค่ามากมาโรงเรียนถ้ามีความจำเป็นให้แจ้งครูทันที เช่น
-
6.4.1 ปากกา นาฬิกา แว่นตา ที่มีราคาสูง
-
6.4.2 เงินจำนวนมาก
-
6.4.3 เครื่องคิดเลข เครื่องเล่นเกม เครื่องคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป ของเล่นราคาสูง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง หากพบภาพไม่เหมาะสมในวิดีโอคลิปยึดมือถือไว้เป็นเวลา 1 ปี
-
6.5 กรณีที่นักเรียนนำสิ่งของต้องห้ามตามระเบียบมาโรงเรียน โรงเรียนจะไม่รับผิดชอบถ้ามีการสูญหายทั้งที่ถูกยึดไว้หรือมิได้ถูกยึดไว้ เพราะถือว่านักเรียนทำผิดกฎระเบียบและได้ห้ามไว้แล้ว
-
6.6 กรณีที่นักเรียนทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน โรงเรียนมอบหมายให้ครูยึดสิ่งของนั้นไว้ก่อนแล้วเชิญผู้ปกครองมารับของคืน
-
6.7 ผู้ปกครองต้องมารับของคืนด้วยตัวเองภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ถูกยึดของ มิฉะนั้นโรงเรียนจะถือว่านักเรียนและผู้ปกครองไม่ประสงค์จะมารับของคืน
-
7. การรับประทานอาหารในโรงเรียน
-
7.1 นักเรียนรับประทานอาหารเฉพาะในบริเวณโรงอาหารเท่านั้น และห้ามนำอาหารหรือภาชนะต่าง ๆ ออกจากโรงอาหาร
-
7.2 นักเรียนรับประทานอาหารได้เฉพาะในเวลาที่กำหนดให้เท่านั้นคือ
-
7.3 การเปิดขายอาหารในโรงอาหาร นักเรียนสามารถซื้อได้และรับประทานได้ตามเวลาที่กำหนดให้ เท่านั้น
-
7.4 ในระหว่างเวลาเรียน เวลาสอน ห้ามนักเรียนออกไปซื้อ หรือรับประทานอาหารนอกโรงเรียน
-
7.5 นักเรียนต้องรับประทานอาหารอย่างมีมารยาท ห้ามนั่งบนโต๊ะอาหาร หรือทิ้งเศษอาหารไว้บนโต๊ะ
-
7.6 วัสดุโรงอาหารทั้งภาชนะ โต๊ะ ม้านั่ง รวมทั้งพื้นและฝาผนังล้วนเป็นของใช้ร่วมกัน นักเรียนต้องช่วยกันรักษาความสะอาด และรักษาสภาพของวัตถุเหล่านั้นรวมทั้งความสะอาดของร่างกายของตนเองก่อนและหลังการรับประทานอาหาร
-
7.7 เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วให้เก็บภาชนะและทิ้งเศษอาหารในที่ที่กำหนดให้เท่านั้น อย่าทิ้งไว้เป็นภาระผู้อื่น
-
7.8 ทิ้งเศษอาหารและวัสดุลงในถังขยะเท่านั้น และแยกประเภทขยะตามที่กำหนดไว้
-
8. การแสดงความเคารพของนักเรียน
-
8.1 การแสดงความเคารพของนักเรียน อาจทำได้หลายวิธีเช่น ยืนตรง คำนับ ไหว้ กราบ วันทยหัตถ์ วันทยาวุธ รวมทั้งการแสดงกิริยาวาจาอย่างสำรวม อย่างสงบนิ่งหรือนอบน้อม หรือการแสดงความเคารพตามแบบของศาสนาต่าง ๆ ด้วยซึ่งนักเรียนต้องใช้ตามกาลเทศะที่เหมาะสมตามเวลาในชีวิตประจำวันทั้งในและนอกโรงเรียน
-
8.2 ผู้ที่นักเรียนต้องแสดงความเคารพตามขนบธรรมเนียมเสมอ คือ บิดา มารดา ครู ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่ควรเคารพอื่น ๆ พร้อมทั้งใช้กิริยาวาจาที่สุภาพกับท่านเสมอทั้งในและนอกโรงเรียน
-
8.3 นักเรียนต้องทำความเคารพครู ตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทั้งในและนอกโรงเรียน
-
8.4 การทำความเคารพในห้องเรียนให้ทำดังนี้
-
8.4.1 เมื่อผู้ที่ควรเคารพเข้ามาในห้องเรียน ให้หัวหน้าห้องเป็นผู้บอกทำความเคารพด้วยคำว่า นักเรียน ให้นักเรียนทุกคนหยุดทำงานทันทีแล้วหัวหน้าบอกต่อทันทีว่า “กราบ” ให้นักเรียนทุกคนกราบพร้อมกัน
-
8.4.2 นักเรียนจะพูดกับครูให้ “ยืนตรง”
-
8.4.3 เมื่อจะพบครูหรือเมื่อจะกลับให้ “ไหว้”
-
8.5 การทำความเคารพครูนอกห้องเรียน
-
8.5.1 เมื่ออยู่ในแถวให้หัวหน้าสั่งว่า “แถว….ตรง” นักเรียนทุกคน “ยืนตรง”
-
8.5.2 ขณะครูเดินผ่านให้นักเรียนหยุดยืนตรงแล้ว “ไหว้”
-
8.5.3 เมื่อครูยืนอยู่กับที่นักเรียนจะเดินผ่าน หรือครูเดินนำหน้านักเรียนจะเดินแซงไปให้นักเรียน “ไหว้” แล้วเดินก้มตัวเล็กน้อยค่อยผ่านหรือแซงไป
-
8.5.4 นอกโรงเรียน นักเรียนทำความเคารพตามความเหมาะสมแก่กาลเทศะ
8.6 การทำความเคารพกรณีอื่น ๆ ให้ถือระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยทำความเคารพรักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2530 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2530
ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552